ประวัติประเทศบราซิล
- ชื่อทางการ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil)
- พรมแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาเม และดินแดนเฟรนช์เกียนา (ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี)
- ภูมิอากาศ ส่วนใหญ่ร้อนชื้น และอุณหภูมิระดับกลางในตอนใต้ของประเทศ
- ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ ในตอนเหนือ และเป็นที่ราบลุ่มเนินเขา ภูเขา และแนวชายฝั่งแคบๆ
- ภาษาทางการ ภาษาโปรตุเกส
- ระบบการปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย
- เมืองหลวง บราซิเลีย
- เมืองสำคัญอื่นๆ เซาเปาโล, ริโอ เดอ จาเนโร
- พื้นที่ 8,511,965 ตร.กม.
- สกุลเงิน เรียลบราซิล (BRL)
- ประชากร ประมาณ 190 ล้านคน
- เวลา ช้ากว่าไทย 9 หรือ 10 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับการปรับเวลาในฤดูร้อน)
- รหัสโทรศัพท์ 55
บราซิลเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ รวมถึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลกด้วย บราซิลมีแม่น้ำอะเมซอน แม่น้ำสายที่กว้างที่สุดในโลก ใหญ่ที่สุดและมีปริมาณน้ำมากที่สุด แต่มีความยาวเป็นที่สองรองจากแม่น้ำไนล์ หากมองย้อนไปถึงการอพยพถิ่นฐานการตั้งรกรากของคนที่นี่แล้ว จะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตแบบชาวยุโรปอย่างชัดเจน ซึ่งจะสามารถสังเกตุได้จากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนที่นี่ ชาวบราซิลมีนิสัยรักความสนุกสนานเฮฮา และโดยส่วนใหญ่มีอัธยาศัยดี และเอื้อเฟื้อต่อชาวต่างชาติ สำหรับค่าครองชีพของที่นี่นั้น ค่าอาหารมื้อหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 250 บาท ในขณะที่น้ำเปล่าขวดละ 30 บาท และน้ำอัดลมขวดเล็ก ขวดละ 45 บาท ค่ารถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ประมาณครั้งละ 49 บาท และแท๊กซี่มีเตอร์เริ่มต้นที่ 75 บาท
แบบการปกครอง
ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี และเป็นสหพันธรัฐ
เมืองหลวง
กรุงบราซิเลีย (Brasilia)
การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 รัฐ และ 1 เขตนครหลวง ได้แก่ Acre, Alagoas, Amapa, Amazonas, Bahia, Ceara, Distrito Federal*, Espirito Santo, Goias, Maranhao, Mato Grosso, Mato Grosso do Sul, Minas Gerais, Para, Paraiba, Parana, Pernambuco, Piaui, Rio de Janeiro, Rio Grande do Norte, Rio Grande do Sul, Rondonia, Roraima, Santa Catarina, Sao Paulo, Sergipe, Tocantins
แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

วันที่ได้รับเอกราช
7 กันยายน พ.ศ.2365 (จากโปรตุเกส)
รัฐธรรมนูญ
5 ตุลาคม พ.ศ.2531
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียว ด้วยวิธีการลงคะแนนเสียงระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม 2014 หากจำเป็นจะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง (runoff election) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2014
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ระบบ 2 สภา (Bicameral National Congress หรือ Congresso Nacional) ประกอยด้วย (1) Federal Senate หรือ Senado Federal จำนวน 81 ที่นั่ง สมาชิก 3 คนมาจากรัฐแต่ละรัฐ ระบบเสียงข้างมาก วาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งหนึ่งในสาม และสองในสามของสมาชิกทุกๆ 4 ปี สลับกัน และ (2) Chamber of Deputies หรือ Camera dos Deputados จำนวน 513 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน (proportional representation) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ
ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูงสุดแห่งชาติ (Supreme Federal Tribunal) โดยที่ผู้พิพากษาทั้ง 11 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จะเกษียณอายุเหมือนลูกจ้างภาครัฐทั้วไปที่อายุ 70 ปี
ระบบกฎหมาย
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (civil law)
การเมืองการปกครอง
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ประธานาธิบดี Rousseff ได้ประกาศนโยบายหลักในการบริหารรัฐบาล (1 มกราคม 2554 31 ธันวาคม 2557) ว่าจะพยายามเต็มที่ที่จะสานต่อความสำเร็จของประธานาธิบดี Lula โดยจะสานต่อนโยบายของรัฐบาลเดิม ซึ่งใช้ orthodox economic policy กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Acceleration) ผสมผสานการใช้นโยบายทางสังคม การกระจายรายได้ นโยบายต่อต้านความอดอยากหิวโหย การสนับสนุนครอบครัวรายได้น้อยภายใต้นโยบายการให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัว (Bolsa Familia) โดยรัฐบาลใหม่จะให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจนและการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับประชาชน เร่งดำเนินนโยบายด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และการสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมบราซิล รวมถึงปฏิรูประบบการเมืองเพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตยและความโปร่งใส ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น และพัฒนาระบบข่าวกรอง การควบคุมชายแดนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลประธานาธิบดี Lula เป็นต้นมา (ปี 2545-2553) รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินนโยบายที่รัฐมีบทบาทนำในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (state-led economy) การลงทุนด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก โทรคมนาคม และการจัดการทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการน้ำมัน ซึ่งผลจากการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ เมื่อปี 2550 รัฐบาลได้จัดตั้ง Petrosal เพื่อบริหารจัดการกิจการน้ำมันของบราซิล นอกเหนือจากบริษัท Petrobas
นโยบายต่างประเทศ
นโยบายการต่างประเทศภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี Rousseff ตามที่ได้กล่าวในการแถลงนโยบายครั้งแรกได้แก่
- ยึดมั่นในสันติภาพ การไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
- ต่อสู้ความยากจน ความอดอยากในโลก
- กระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในอเมริกาใต้ ลาตินอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย รักษาและกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และให้ความสำคัญ กับประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของ MERCOSUR และ UNASUR
- เข้าร่วมการสร้างเสริมเสถียรภาพของสภาบันการเงินระหว่างประเทศ สนับสนุนการ ปฏิรูปองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติและสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บราซิลได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันการปฏิรูปสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยบราซิลร่วมกับเยอรมนี อินเดีย และญี่ปุ่น ในนามกลุ่ม 4 (G-4) เสนอ ให้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้คณะมนตรีฯ มีสมาชิกจากแต่ละภูมิภาคของโลกในสัดส่วนที่เป็นธรรม และมีสมาชิกทั้งจากประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา โดยเสนอให้เพิ่มสมาชิกถาวรอีก 6 ประเทศ (จากเดิม 5 ประเทศ) จากภูมิภาคเอเชีย และแอฟริกาภูมิภาคละ 2 ประเทศ ลาตินอเมริกา และแคริบเบียน และยุโรปตะวันตก และอื่นๆ ภูมิภาคละ 1 ประเทศ และให้เพิ่มสมาชิกไม่ถาวรอีก 4 ประเทศ (จากเดิม 10 ประเทศ) จากภูมิภาคแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกา และแคริบเบียน และยุโรปตะวันออก ภูมิภาคละ 1 ประเทศ รวมเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้งหมด 25 ประเทศ
- ไม่สนับสนุนการมีและการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ
- ส่งออกวัฒนธรรมบราซิลผ่านดนตรี ภาพยนตร์ และวรรณกรรม
บราซิลพยายามรักษาสมดุลของความสัมพันธ์กับทั้ง สหรัฐฯ และบางประเทศ ในลาตินอเมริกาที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ เช่น เวเนซุเอลา และคิวบา บราซิลดำเนินความสัมพันธ์กับ สหรัฐฯ บนหลักต่างตอบแทนและการเคารพซึ่งกันและกัน สำหรับภูมิภาคอื่นๆ บราซิลดำเนินความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศที่มีบทบาทสูงในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน ญี่ปุ่น เช่น เห็นได้จากการ ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกประเภทนอกภูมิภาค (Non-regional membership) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) เมื่อปลายปี 2552 ซึ่งนับเป็นการพยายามขยายและยกระดับบทบาท บราซิลทั้งในภูมิภาคเอเชียและในเวทีโลก รวมถึงการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับ ASEAN ให้มากขึ้น โดยบราซิลได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตบราซิลประจำอินโดนีเซียให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร ประจำอาเซียนอีกตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดีย และแอฟริกาใต้ ภายใต้กรอบเวทีเจรจาสามฝ่ายระหว่างอินเดีย บราซิล และแอฟิกาใต้ (India, Brazil and South Africa Dialogue Forum – IBSA) อีกด้วย
ในส่วนของเวทีระหว่างประเทศนั้น ประเด็นที่บราซิลให้ความสนใจเป็นพิเศษ และพยายามมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การต่อสู้เพื่อขจัดความยากจน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสาธารณสุขโดยเฉพาะการต่อสู้กับโรคเอดส์ และการพัฒนาพลังงานทดแทน ส่งเสริมนโยบายให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะสาขาที่บราซิลมีความก้าวหน้า เช่น เกษตร สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม ประเทศเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือ คือ ลาตินอเมริกา สมาชิก MERCOSUR ติมอร์ตะวันออก และประเทศแอฟริกาที่ใช้ภาษาโปรตุเกส ปัจจุบันบราซิลได้ขยายขอบเขตความร่วมมือในกรอบไตรภาคีกับอินเดีย แอฟริกาใต้ จีน และความร่วมมือในกรอบพหุภาคีกับ ญี่ปุ่น แคนาดา ยุโรป และกำลังมีความพยายามจะขยายความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีกับไทยด้วย
บราซิลกับสหรัฐอเมริกา
บราซิลรักษาสมดุลของความสัมพันธ์กับทั้งสหรัฐฯ และบางประเทศในลาตินอเมริกาที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ เช่น เวเนซุเอลา และคิวบา โดยดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ บนหลักผลประโยชน์ต่างตอบแทนและการเคารพซึ่งกันและกัน ในขณะที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับบราซิลในฐานะมหาอำนาจหนึ่งของโลก และเปิดกว้างในการหารือประเด็นเกี่ยวกับประชาคมโลกกับบราซิลมากขึ้น ทั้งในประเด็นการปฏิรูป UNSC (สหรัฐฯ ไม่ได้สนับสนุนบราซิลดังที่สนับสนุนอินเดีย) ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นด้านการก่อการร้าย อีกทั้งยังเห็นความสำคัญของบราซิลในฐานะประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ปี 2555 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจขยายตัวและเป็นไปได้ด้วยดี โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 70 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อบราซิลคือการเน้นการส่งเสริมการศึกษาตามโครงการ Sciences without Border และส่งเสริมการผ่อนคลายกฎระเบียบด้านวีซ่าเพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวชาวบราซิลในสหรัฐอเมริกา
การเยือนที่สำคัญระหว่างบราซิล - สหรัฐอเมริกา
1. ประธานาธิบดีโอบามาได้เดินทางเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2554 เพื่อหารือถึงแผนงานความร่วมมือในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะประเด็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และนโยบาย Science without Border ของประธานาธิบดีดิลมาที่ส่งเสริมให้ชาวบราซิลเดินทางเข้ามาศึกษาในสหรัฐอเมริกามากขึ้น
2. ประธานาธิบดี Rousseff ได้เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการเมื่อ 9 – 11 เมษายน 2555 โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันการเป็นหุ้นส่วนด้านยุทธศาสตร์พลังงานระหว่างกัน และเห็นพ้องให้มีการยกระดับความสัมพันธ์ด้านการทหาร โดยยกระดับกลไกการหารือ Defense Cooperation Dialogue ให้เป็นระดับสุดยอด นอกจากนี้ยังได้ลงนาม MoU ต่าง ๆ คือ 1) ความร่วมมือการเป็นพันธมิตรด้านการบิน 2) ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา 3) ความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครต่าง ๆ และ 4) การแลกเปลี่ยนหนังสือความเข้าใจร่วมเรื่องความมีลักษณะเฉพาะของเครื่องดื่ม Cachaça ของบราซิล และ Bourbon ของสหรัฐฯ
บราซิลกับตะวันออกกลาง
บราซิลให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงและเหตุการประท้วงต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในฐานะสมาชิกกลุ่ม BRICS บราซิลแสดงท่าทีชัดเจนในการปฏิเสธการแทรกแซงประเทศในตะวันออกกลางเพื่อนำไปสู่ประเทศประชาธิบไตย และเรียกร้องให้จีนและรัสเซียร่วมปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวด้วย บราซิลให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ยุติความรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้กำลังทหาร และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้การหารือเพื่อแก้ปัญหา
ทั้งนี้ บราซิลมีความสัมพันธ์กับอียิปต์ ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และปัญหาในซีเรีย ดังนี้
1. อียิปต์ บราซิลมีความสัมพันธ์กับอียิปต์มายาวนาน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้า ในด้านการทหาร บราซิลส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในช่วงวิกฤตคลองซุเอช เมื่อปี 2499 ในช่วงต้นปี 2554 ประธานาธิบดี Rousseff ของบราซิลได้เคยพบปะกับผู้นำ และแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง กับอียิปต์อยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลบราซิลกับรัฐบาลใหม่ของอียิปต์ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์ Arab Spring ยังมีไม่มากนัก แต่ยังคงรักษาปริมาณการค้าระหว่างกันได้สม่ำเสมอ
2. ตุรกี นับแต่ปี 2547 ความสัมพันธ์ระหว่างบราซิล – ตุรกี พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ มูลค่าการค้าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 นับจากปี 2546 บราซิลให้ความสำคัญกับตุรกีในฐานะพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญต่อนโยบายการต่างประเทศต่อประเทศในตะวันออกกลางของบราซิล นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศต่างพัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 25,000 คนในปี 2554 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ถึง 28,000 คน
3. ซาอุดิอาระเบีย นับแต่ปี 2551 – 2552 ความสัมพันธ์ระหว่างบราซิล - ซาอุดิอารเบียได้พัฒนามากขึ้นไปกว่ามิติด้านการค้า โดยมีความร่วมมือด้านการเมืองและการแลกเปลี่ยนนักวิชาการระหว่างกัน ปัจจุบันบราซิลกำลังขอเข้าเป็นผู้สังเกตุการณ์ของใน OIC ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงริยาดเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง
4. ซีเรีย บราซิลให้ความสำคัญต่อวิกฤตการณ์ในซีเรีย โดยที่ผ่านมาบราซิลยืนยันไม่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ปัญหาโดยใช้กำลังทหาร ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Rousseff เคยกล่าวถึงจุดยืนดังกล่าวในระหว่างการประชุม UNGA เมื่อเดือนกันยายน 2555 โดยบราซิลได้เสนอแนวคิด Responsibility while Protecting เนื่องจากเห็นว่าหลักการ R2P มีประโยชน์ในการคุ้มครองพลเรือนแต่อาจถูกใช้ไปในแนวทางที่ผิด บราซิลจึงเสนอให้การอนุญาตใช้กำลังทหารโดยสหประชาชาติควรมีขอบเขตด้านการใช้กำลังทหารที่ชัดเจน และกองกำลังดังกล่าวต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ขณะเข้าปกป้อง
5. อิสราเอล – ปาเลสไตน์ บราซิลเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์ และเมื่อ 14 – 15 ตุลาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบราซิลได้เดินทางเยือนอิสราเอลและปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ โดยในระหว่างการเยือนได้กล่าวยืนยันการสนับสนุนของบราซิลต่อคำร้องของปาเลสไตน์เพื่อยกฐานะของปาเลสไตน์เป็นรัฐในสหประชาชาติ
ที่มา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล - Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand : กระทรวงการต่างประเทศ
กันยายน 2558
ประมุขและคณะรัฐบาลบราซิล
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559
Update 22 กันยายน 2560
Pres. Michel Miguel Elias TEMER Lulia Vice Pres. Chief of the Civilian Household of the Presidency Eliseu PADILHA Sec. of Government Min. of Agrarian Development Patrus ANANIAS Min. of Agriculture, Livestock, & Supply Blairo MAGGI Min. of Cities Bruno ARAUJO Min. of Communications Andre FIGUEIREDO Min. of Culture Min. of Defense Raul Belens JUNGMANN Pinto Min. of Education Mendonca FILHO Min. of the Education Jose SARNEY Filho Min. of Finance Henrique MEIRELLES Min. of Foreign Relations Jose SERRA Min. of Health Riccardo BARROS Min. of Industry, External Commerce, & Services Marcos PEREIRA Min. of Justice & Citizenship Alexandre DE MORAES Min. of Labor Ronaldo NOGUEIRA Min. of Mines & Energy Fernando COELHO Filho Min. of National Integration Helder BARBALHO Min. of Planning, Budget, & Management Min. of Science, Technology, Innovation, & Communications Gilberto KASSAB Min. of Social Development & Agricultural Development Osmar TERRA Min. of Sports Leonardo PICCIANI Min. of Tourism Marx BELTRAO Min. of Transparency, Monitoring, & Control Torquato JARDIM Min. of Transportation, Ports, & Civil Aviation Mauricio QUINTELLA Head, Office of the Solicitor Gen. Grace MENDONCA Pres., Center Bank llan GOLDFAJN Ambassador to the US Sergio AMARAL Permanent Representative to the UN, New York Mauro Luiz lecker VIEIRA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น